Mathematical Provision for Early Childhood
แฟ้มสะสมผลงานในรายวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560
วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
บันทึกครั้งที่ 16 วันพุธที่ 28 เมษายน พ.ศ.2561 เวลาเรียน 08.30 - 12. 30 น.
เนื้อหาที่เรียน
วันนี้นำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้
"ถาดรองไข่" หลังจากที่ได้นำสื่อไปให้เด็กๆได้เล่น
นำเสนอออกมารูปแบบคลิป และในรูปแบบ Power Point
เกมพีชคณิตแสนสนุก ของนางสาววิจิตรา ปาคำ และนางสาวขนิษฐา สมานมิตร โดยการเล่นจะมีโจทย์ให้เด็กๆเป็นรูปเรขาคณิต และสี เพื่อให้เด็กๆได้รู้ถึงความสัมพันธ์ของสี และรูปเรขาคณิต
เกมตกปลาได้เลข ของนางสาวสิริวดี นุเรศรัมย์ และนางสาวปรางทอง สุริวงษ์ เป็นเกมตกปลาที่ปลานั่นใช้เป็นฝาขวดแก้ว ใต้ฝามีตัวเลขให้เด็กๆได้เล่นเกมบิงโกด้วย
เกมตาชั่งตัวจิ๋ว ของนางสาวกิ่งแก้ว ทนนำ โดยเป็นการนำเอาแกนทิชชูมาทำเป็นที่ชั่ง เด็กๆนำของเล่นมาชั่งเพื่อให้รู้น้ำหนักของสิ่งของได้
เกมจับคู่สีรูปภาพ ของนางสาวสุพรรณิการ์ สุขเจริญ และนางสาวอภิชญา โมคมูล แบ่งเด็กออกเป็น 2 กลุ่มในการเล่น และแต่ละกลุ่มทอยลูกเต๋า นำตัวเลขไปว่างให้ถูกตามที่โจทย์กำหนด
เกมที่สอนเรื่องขนาดของหลอด ของนางสาวชาณิศา หุ้ยทั่น และนางสาวอุไรพร พวกดี
โดยเป็นการจับคู่หาหลอดที่มีความยาว สั้นเท่ากัน ให้เด็กๆเปิดฝาขึ้นและหาคู่หลอดที่มีอยู่
เกมวัดหนอนหรรษา ของนางสาววิภาพร จิตอาคะ และนางสาววสุธิดา คชชา โดยการเล่นให้เด็กวางตัวหนอนจากสั้นไปหายาว และใช้ไม้บรรทัดวัด จากนั้นวางบัตรตัวเลขให้ตรงกับค่าที่วัดได้
เกมบวก ลบ มหาสนุก ของนางสาวอรอุมา ศรีท้วม และนางสาวณัฐชา บุญทอง ให้เด็กๆวางฝาขวดน้ำตามโจทย์ที่ได้ในถาดไข่ที่มีฝาน้ำต่างกัน และนับฝาขวดน้ำถ้าต้องการเพิ่มขึ้น
หรือลดลง
เกมรูปทรงยืดหยุ่น ของนางสาวสุจิณณา พาพันธ์ และนางสาวสุภาภรณ์ วัดจัง ให้เด็กใช้
หนังยางโยงตามจุดในแผงไข่โดยมีโจทย์มาให้
เกมการเล่นแบบอนุกรม ของนางสาวณัฐธิดา ธรรมแท้ และนางสาวปวีณา พันธ์กุล มีหลากหลายเกมอย่างแรกให้เด็กๆใส่ที่ครอบตามโจทย์ที่ได้(สอนเรื่องตำแหน่ง)อย่างที่สองเรียงตามสี และสุดท้ายเป็นการเรียงแบบอนุกรม แต่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียงเพราะถาดไข่ไม่พอที่จะสามารถทำเป็นอนุกรมได้ แต่ก็มีวิธแก้ปัญหาถ้าเราจะนำไปเล่นเรื่องอนุกรม
เกมเรขาคณิต ของนางสาวสุภาวดี ปานสุวรรณ และนางสาวบงกชกมล ยังโยมร โดยมีโจทย์เป็นรูปเรขาคณิตวางซ้อนๆกัน เด็กๆเห็นรูปใดบ้างก็ให้วางรูปเรขาคณิตที่แปะไว้บนฝาขวดน้ำ
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆทุกคนต่างให้ความสนใจกับสื่อการเรียนรู้ของเพื่อน และสื่อของใครที่มีปัญหาก็ช่วยกันคิดแก้ปัญหาให้เพื่อน
ประเมินวิธีการสอน
อาจารย์ให้คำแนะนำเพื่อปรับเปลี่ยนการนำเสนอในเรื่องของพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมา และให้ทำพาวเวอร์พ้อยเพื่อนำเสนอใน blogger
บันทึกครั้งที่ 15 วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2561 เวลาเรียน 08.30 - 12. 30 น.
เนื้อหาที่เรียน
นำเสนอวิจัยคนสุดท้าย
คือ นางสาวรัติยากร ศาลาฤทธิ์
วิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้
ในวิจัยจะพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กเรื่อง ตำแหน่ง จำแนก การนับ
รู้ค่าจำนวน และการเพิ่ม - ลด จำนวน
รูปแบบของการสอน
1.การกระตุ้น คือการตั้งคำถาม
2.การกรองสู่มโนทัศน์
คือการสะท้อนความคิด ตั้งคำถาม สรุป ตัวอย่าง
3.พัฒนาด้วยศิลปะ คือวาดภาพ
4.สาระที่เรียนรู้ คือการที่อธิบาย
เล่าเรื่องของผลงาน
จากนั้นมีการนำเสนอสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์จากวัสดุเหลือใช้ "ถาดรองไข่"
บรรยากาศในห้องเรียน
เพื่อนๆทุกคนต่างให้ความสนใจกับสื่อการเรียนรู้ของเพื่อน มีความร่วมมือกันจัดการนำเสนอ
ประเมินวิธีการสอน
อาจารย์ตรวจดูความเรียบร้อยสื่อการเรียนรู้ของแต่กลุ่ม หากมีสิ่งใดที่ต้องแก้ไขอาจารย์แนะนำในทันทีเพื่อให้สื่อการเรียนรู้ออกมาสมบรูณ์แบบที่สุด
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561
บันทึกครั้งที่ 14 วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ.2561 เวลาเรียน 08.30 - 12. 30 น.
เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ให้นำสื่อไปนำเสนอเพื่อดูความคืบหน้า และช่วยแนะนำเพื่อให้งานออกมาดียิ่งขึ้น การทำสื่อด้วยถาดไข่สามารถเชื่อมโยงไปถึงความพอเพียงในการเรียนการสอน ความพอเพียงคือการที่นำสิ่งของมาทำประโยชน์ได้หลายๆอย่าง ให้เด็กได้เกิดทักษะความคิด ความคิดสร้างสรรค์
การประเมินเด็กๆเราจะดูจากสิ่งใด - สังเกตจากการดู หรือจากประสานสัมผัสทั้ง 5
- สนทนาพูดคุยกับเด็กๆ
- ดูผลงาน
เราประเมินเพื่ออะไร? ประเมินเพื่อเปรียบเทียบ วัด และหาค่า จะได้นำไปปรับปรุงตัวเอง รับรู้เพื่อจะไปช่วยเหลือ และสื่อสารกับผู้ปกครองได้
อาจารย์สอนร้องเพลงต่างๆที่นำไปสอนในเรื่องของคณิตศาสตร์ได้ เช่นเพลงสวัสดียามเช้าโยงไปถึงเรื่องกิจวัตประจำวัน เวลา เพลงสวัสดีคุณครู สอนเรื่องเวลา เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือนสอนในเรื่องวัน เดือน ปี และเพลงเข้าแถวและเพลงจัดแถวสอนในเรื่องตำแหน่ง และการบอกให้เข้าแถวโดยไม่หน้าเบื่อ
จากนั้นอาจารย์ก็วัดความรู้ที่เราได้เรียนมาว่าเราจะได้ความรู้มากน้อยแค่ไหน
การประเมินเด็กๆเราจะดูจากสิ่งใด - สังเกตจากการดู หรือจากประสานสัมผัสทั้ง 5
- สนทนาพูดคุยกับเด็กๆ
- ดูผลงาน
เราประเมินเพื่ออะไร? ประเมินเพื่อเปรียบเทียบ วัด และหาค่า จะได้นำไปปรับปรุงตัวเอง รับรู้เพื่อจะไปช่วยเหลือ และสื่อสารกับผู้ปกครองได้
อาจารย์สอนร้องเพลงต่างๆที่นำไปสอนในเรื่องของคณิตศาสตร์ได้ เช่นเพลงสวัสดียามเช้าโยงไปถึงเรื่องกิจวัตประจำวัน เวลา เพลงสวัสดีคุณครู สอนเรื่องเวลา เพลงหนึ่งปีมีสิบสองเดือนสอนในเรื่องวัน เดือน ปี และเพลงเข้าแถวและเพลงจัดแถวสอนในเรื่องตำแหน่ง และการบอกให้เข้าแถวโดยไม่หน้าเบื่อ
จากนั้นอาจารย์ก็วัดความรู้ที่เราได้เรียนมาว่าเราจะได้ความรู้มากน้อยแค่ไหน
บรรยากาศในห้องเรียน
สนุก ตั้งใจฟังอาจารย์ และเพื่อนๆ
ประเมินวิธีการสอน
อาจารย์คอยช่วยแนะนำและนำเพลงมาให้ได้ร้องเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
วันเสาร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2561
บันทึกครั้งที่ 13 วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ.2561 เวลาเรียน 08.30 - 12. 30 น.
เนื้อหาที่เรียน
อาจารย์ขอดูความคืบหน้าของสื่อที่อาจารย์ให้ไปทำ
เมื่อดูเสร็จอาจารย์ก็ได้แนะนำให้แต่ละกลุ่มว่าควรทำแบบไหนบ้าง ควรมีสิ่งใดมาเติม
หลังจากนั้นก็ให้เพื่อนที่ยังเหลือนำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอน มานำเสนอ
นางสาวสุจิณณา พาพันธ์ นำเสนอวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ โดยที่สร้างความสนใจให้กับเด็กๆ และฟังเสียงเพื่อให้เด็กทาย จากนั้นก็ให้ดูเพื่ออธิบายลักษณะ
เมื่อนำเสนอเสร็จอาจารย์ให้ดูลูกแก้วในโหลว่ามีเท่าไหร่ และส่งต่อให้ดูกันทีละคนแต่ห้ามนับ แล้วให้บอกว่ามีลูกแก้วกี่ลูก ทุกคนต่างตอบแตกต่างกันไป มีทั้ง 17 18 19 และ20
และให้เพื่อนเป็นตัวแทนออกไปนับจากวางลงบนถาดไข่จากซ้ายไปขวา นับได้ทั้งหมด 19 ลูก การทำแบบนี้เป็นการคาดคะเนจะตรงกับมาตรฐานทางคณิตศาสตร์สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
บรรยากาศในห้องเรียน
สนุก ตั้งใจฟังเพื่อนในการนำเสนอ ช่วยกันแสดงความคิดเห็น
ประเมินวิธีการสอน
อาจารย์คอยช่วยแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง และให้คำปรึกษา
วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561
บันทึกครั้งที่ 12 วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2561 เวลาเรียน 08.30 - 12.30 น.
เนื้อหาที่เรียน
นำเสนอบทความ วิจัย และตัวอย่างการสอนก่อนที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่น
คนแรกคือ นางสาวสิริวดี นุเรศรัมย์ นำเสนอบทความเรื่องสอนคณิตศาสตร์จากสิ่งรอบตัว
1.สอนตัวเลข โดยให้เด็กๆนับของเล่น หรือรู้เลขจากเบอร์โทรศัพท์ เลขที่บ้าน
2.สอนขนาด ปริมาณ น้ำหนัก จากการเรียงของสิ่งที่แตกต่าง
3.สอนรูปทรง จากการทำอาหาร หรือของใช้ภายในบ้าน
4.สอนตำแหน่ง จากการขับรถบอกทาง หรือให้นำสิ่งของไปวางไว้ที่ต่างๆ
5.สอนกลางวัน กลางคืน จากการให้ทำกิจวัตประจำวัน
6.สอนวัน/เดือน/ปี จากปฏิทิน หรือเทศกาล ประเพณีต่างๆ
7.สอนเพิ่ม - ลด เพิ่มข้าว เพิ่มปุ๋ย หรือลดจำนวนสิ่งของที่ไม่ใช้
8.สอนการใช้เงิน จากการไปตลาด ไปซื้อของ
คนที่สองคือ นางสาวสุพรรณิการ์ สุขเจริญ นำเสนอบทความเรื่องสอนลูกเรื่องจำนวน การนับและตัวเลข
1.จัดบรรยากาศภายในบ้านให้มีตัวเลขให้เด็กได้เห็นเด็กจะเกิดความสนใจ เช่น ตัวเลขของนาฬิกา เลขที่บ้าน
2.นับอวัยวะ ตากี่มีตา
3.เล่านิทานที่มีจำนวนตัวเลข เพื่อให้เด็กได้นับ ได้คิด
อาจารย์ให้จับคู่เพื่อคิดสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์โดยที่ใช้แผงไข่ที่เป็นกระดาษ โดยคู่ของฉันทำเป็นตัวหนอนที่จะสอนในเรื่องของการวัด
บรรยากาศในห้องเรียน
สนุก ตั้งใจฟังเพื่อนในการนำเสนอ
ประเมินวิธีการสอน
อาจารย์คอยช่วยแนะนำในสิ่งที่ถูกต้อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)